- ในรั้วสถาปัตย์ฯ
- ห้องปฏิบัติการออกแบบ
ห้องปฏิบัติการออกแบบ
Design Future Lab
Design Future Lab เกิดขึ้นจากคำถามที่ว่าประเทศไทยจะก้าวไปสู่ยุค 4.0 ได้อย่างไร ? ในโลกที่แข่งขันด้วยนวัตกรรม เป็นที่ประจักษ์แล้วว่า
การออกแบบซึ่งเป็นกระบวนการที่เรียบเรียงความคิดสร้างสรรค์อย่างเป็นระบบเป็นหนึ่งในปัจจัยที่สำคัญในการเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์
การบริการ รวมทั้งการจัดการให้มีประสิทธิภาพสูงสุด ในต่างประเทศ แนวคิดดังกล่าวนี้สามารถสร้างเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจได้อย่างต่อเนื่อง
ตลอดจนเป็นการสร้างมูลค่าทางสังคม และสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน ตัวอย่างเช่น ประเทศสิงคโปร์ เกาหลีใต้ และสวิตเซอร์แลนด์ ที่ถูกจัดให้เป็น
3 อันดับประเทศชั้นนำทางด้านนวัตกรรมของโลก
ความท้าทายที่สำคัญที่สุดการเตรียมประชากรของประเทศ ให้มีแนวคิดในการออกแบบและสร้างสรรค์ ทักษะในการวิจัยและพัฒนา และมุมมอง
ทางด้านธุรกิจ เพื่อตอบโจทย์ความท้าทายในอนาคต
Design Future Lab เป็นแนวคิดที่ต้องการเปิดโอกาสการเรียนรู้นอกห้องเรียนแบบใหม่ให้กับนักศึกษา โดยความร่วมมือของภาคการศึกษาและ
ภาคอุตสาหกรรม เพื่อเป็นพื้นที่ทางความคิด สร้างแรงบันดาลใจ และบ่มเพาะทักษะการคิดค้นนวัตกรรมการออกแบบ ผ่านการเสนอหัวข้อ
โครงงาน การวิจัยและพัฒนา การสร้างต้นแบบ ที่นำไปสู่การคัดเลือกเชิงธุรกิจเพื่อเป็นการต่อยอดทางด้านการค้าต่อไป
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นผู้บุกเบิกการศึกษาทางด้านการออกแบบบนพื้นฐานการสร้างสรรค์
นวัตกรรมและความยั่งยืน เป็นที่รู้จักในทิศทางการเรียนการสอนบนพื้นฐานตรรกะทางวิทยาศาสตร์ ปัจจุบันมีหลักสูตรครอบคลุมศาสตร์ทางด้าน
สถาปัตยกรรม การออกแบบฃุมฃนเมือง การผังเมือง และการจัดการออกแบบ ที่มุ่งเน้นเตรียมความพร้อมบัณฑิตในการเข้าสู่สังคมแห่งอนาคต
โครงการว่า Design Future LAB เป็นพื้นที่ทางความคิดเพื่อให้นักศึกษาได้พัฒนาทักษะในการมองเห็นปัญหาในโลกแห่งอนาคตอย่างมีองค์รวม
สามารถนำความรู้ในการออกแบบและความคิดเชิงสร้างสรรค์มาผนวกกับความรู้และทักษะในการจัดการและความคิดเชิงกลยุทธ์เพื่อคิดค้น
นวัตกรรม นอกจากนี้ยังเป็นการสร้างโอกาสการเรียนรู้ร่วมกันนอกห้องเรียนให้นักศึกษาจากหลากหลายสาขา ร่วมกับเครือข่ายความร่วมมือทาง
วิชาการ และศิษย์เก่า อันจะสามารถตอบโจทย์ของสังคมได้อย่างแท้จริง
รายละเอียดโครงการ
เป็นโครงการที่จัดในลักษณะกิจกรรมนอกหลักสูตร ดำเนินการโดยกลุ่มนักศึกษา ร่วมกับอาจารย์ ศิษย์เก่าและเครือข่ายจากภาคธุรกิจ โดยการ
ดำเนินงานแบ่งเป็น 4 ขั้นตอน ดังนี้
- การจัดสัมนาเชิงปฏิบัติการระดมสมองเพื่อกำหนดทิศทาง วิสัยทัศน์ของ Design Future LAB และการสร้างทีมงานนักศึกษา
- การทำ Pilot Project โดยทีมงานนักศึกษาภายในคณะฯ
- การเปิดรับข้อเสนอโครงการในระดับคณะฯ โดยทีมงานนักศึกษาภายในคณะฯ จากสาขาต่างๆ อย่างน้อย 3 สาขาวิชา
- การเปิดรับข้อเสนอโครงการในระดับมหาวิทยาลัย โดยทีมงานนักศึกษาจากคณะต่างๆ ที่สนใจ ทั้งนี้ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง
จะร่วมสนับสนุนพื้นที่และภาคีทางด้านวิชาการในการให้ความเห็นต่อโครงการนักศึกษา เชื่อมโยงแหล่งทุนในการทดลองและสร้างผลิตภัณฑ์
ต้นแบบในครั้งนี้
พื้นที่ใช้สอยของโครงการมีลักษณะการใช้งานพื้นที่สามารถแบ่งออกเป็น
- พื้นที่ Co-working Space
- พื้นที่ Experimental Space สำหรับทดลองนวัตกรรมต้นแบบ
- พื้นที่จัดแสดง exhibition space
วัตถุประสงค์ของโครงการ :
- เพื่อแลกเปลี่ยนและเผยแพร่มุมมองทางด้านวิชาการในศาสตร์ของการออกแบบ
- เรียนรู้ผ่านจากการทำงานจริง
- สร้างโครงข่ายในวงการธุรกิจ องค์กรภาครัฐและภาควิชาการ ซึ่งจะก่อประโยชน์อย่างสูงสังคม
- โอกาสในการสร้างโครงข่ายทางด้านวิชาการและธุรกิจ ซึ่งจะก่อประโยชน์อย่างสูงแก่นักศึกษาในการศึกษาต่อและการทำงานในอนาคต
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
ต่อยอดความคิด และเปิดมุมมองแนวคิดใหม่ทางด้านวิชาการศาสตร์ทางด้านการออกแบบรวมกับภาคธุรกิจ และเป็นการเผยแพร่ชื่อเสียงของ
โครงการฯ และคณะฯ ให้เป็นที่รู้จัก