ประกันคุณภาพ

นโยบายและแนวทางปฏิบัติในการประกันคุณภาพ

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีนโยบายในการดำเนินงานด้านประกันคุณภาพและมาตรฐาน วิชาการที่สอดคล้องกับปรัชญาของการศึกษาสถาปัตยกรรมเน้นการประยุกต์วิชาการพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกับ วิชาการด้านศิลปวัฒนธรรม และวิทยาการจัดการ เพื่อให้กระบวนการสร้างสรรค์งานสถาปัตยกรรม มีความก้าวหน้าสอดคล้องกับ สังคมยุคใหม่ พร้อมกับสืบสานพัฒนาศิลปะและวัฒนธรรมของชาติ ผ่านกระบวนการจัดการที่มีประสิทธิภาพ

เนื่องจากการเรียนการสอนของคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีความแตกต่างจากการเรียน การสอนด้านสถาปัตยกรรมของสถานศึกษาอื่นๆ ทั้งในเรื่องของหลักสูตรที่มีลักษณะเป็นพลวัต มีความยืดหยุ่นนักศึกษาสามารถ เลือกเรียน สามารถปรับปรุงและพัฒนาได้อย่างเหมาะสม ให้สอดคล้องกับสภาพทางเศรษฐกิจและสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป ในด้าน การเรียนการสอนเน้นการประสานทางวิชาการ การประกันคุณภาพการศึกษาจึงสามารถสะท้อนให้เห็นถึงความแตกต่างดังกล่าวได้

เป้าหมายของการประกันคุณภาพการศึกษา

เพื่อให้มีความเป็นเลิศในคุณภาพการศึกษา ทั้งในด้านการเรียนการสอน การวิจัย การบริการวิชาการแก่สังคม และการทำนุบำรุง ศิลปะและวัฒนธรรมของชาติ อันจะนำไปสู่การสร้างความมั่นใจแก่สังคมว่า ได้จัดการศึกษาอย่างมีคุณภาพ และผลิตบัณฑิตที่มี คุณภาพ ตามปรัชญาการศึกษาของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คณะสถาปัตยกรรม-ศาสตร์และการผังเมือง จึงได้จัดทำคู่มือการ ประกันคุณภาพการศึกษาที่สามารถปรับปรุง และพัฒนาให้เหมาะสมกับสถานการณ์ด้านต่าง ๆ ที่เปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ให้คู่มือที่จัดทำขึ้นนี้ สามารถนำไปเป็นแม่แบบให้กับสถานศึกษาที่มีการเรียนการสอนในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับ การสอนด้านความคิดสร้างสรรค์ได้

ขอบเขตการประกันคุณภาพการศึกษา

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง ใช้ระบบการประกันคุณภาพการศึกษาที่ครอบคลุมทั้งนักศึกษาระดับปริญญาตรี นักศึกษา ระดับปริญญาโทและระดับปริญญาเอกในอนาคต มีความครอบคลุมทุกหน่วยงานในคณะฯ ตามโครงสร้างองค์กรสอดคล้องกับ ปรัชญาการศึกษาของมหาวิทยาลัย คือ “การจัดการศึกษาและค้นคว้าในศาสตร์ต่าง ๆ โดยมุ่งส่งเสริมวิชาการ ทำงานสอน ทำการวิจัย ให้บริการทางวิชาการแก่สังคม และทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมของชาติ” และปรัชญาการศึกษาของคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ และการผังเมือง (ปรากฏในปรัชญาของหลักสูตรต่าง ๆ ของคณะฯ)

กลไกการประกันคุณภาพ

คณะทำงานฝ่ายวิจัยและประกันคุณภาพการศึกษา ได้อ้างอิงกลไกการประกันคุณภาพของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และตัวบ่งชี้ที่สะท้อนเอกลักษณ์ของ คณะฯ ซึ่งในการจัดทำคู่มือประกันคุณภาพ และรายงานการประเมินตนเอง (SAR: Self Assessment Report) คณะฯ ได้ดำเนินการ ตามตัวบ่งชี้และองค์ประกอบคุณภาพของแต่ละปีการศึกษา โดยได้ดำเนินตามกลไกการประกันคุณภาพที่ จำแนกได้เป็น 2 ส่วน ดังนี้

  1. การประกันคุณภาพภายใน หมายถึง กิจกรรมควบคุมคุณภาพภายในคณะฯ เพื่อให้มั่นใจได้ว่าคณะฯ ได้ดำเนินตามอุดมการณ์-วิสัยทัศน์ และพันธกิจของคณะฯ อย่างมีคุณภาพ และสอดคล้องกับการดำเนินการประกันคุณภาพของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หน่วยงาน ภายในที่ทำหน้าที่ในการประเมินคุณภาพการศึกษาระดับอุดมศึกษา คือ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.)
  2. การประกันคุณภาพภายนอก หมายถึง การดำเนินการตามระบบควบคุมคุณภาพภายใน พร้อมทั้งการตรวจสอบและประเมินทั้ง ระบบโดยหน่วยงานภายนอก เพื่อประกันว่าคณะฯ ได้ดำเนินการตามอุดมการณ์-วิสัยทัศน์ และพันธกิจของคณะฯ อย่างมีคุณภาพ หน่วยงานภายนอกที่ทำหน้าที่ในการประเมินคุณภาพการศึกษาระดับอุดมศึกษา คือ สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมิน คุณภาพการศึกษา (สมศ.)

รายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการประกันคุณภาพการศึกษา

เกณฑ์การกำหนดระดับคุณภาพของงานวิจัย งานสร้างสรรค์ และผลงานทางวิชาการ

รายชิ่อวารสารในฐานข้อมูล TCI
บัญชีรายชื่อวารสารวิชาการ
องค์ประกอบและตัวบ่งชี้คุณภาพ
  1. ปีการศึกษา 2559
  2. ปีการศึกษา 2558
  3. ปีการศึกษา 2557
  4. ปีการศึกษา 2556
  5. ปีการศึกษา 2555
  6. ปีการศึกษา 2554
  7. ปีการศึกษา 2553
  8. ปีการศึกษา 2552
  9. ปีการศึกษา 2551
  10. ปีการศึกษา 2550
ผลประเมินคุณภาพการศึกษา
  1. ปีการศึกษา 2558
  2. ปีการศึกษา 2557
  3. ปีการศึกษา 2556
  4. ปีการศึกษา 2555
  5. ปีการศึกษา 2554
  6. ปีการศึกษา 2553
  7. ปีการศึกษา 2552
  8. ปีการศึกษา 2551
  9. ปีการศึกษา 2550

การจัดการความรู้ (KM)

การจัดการความรู้ (Knowledge management : KM) คือ การรวบรวม สร้าง จัดระเบียบ แลกเปลี่ยน และประยุกต์ใช้ความรู้ใน องค์กร โดยพัฒนาระบบจาก ข้อมูล ไปสู่ สารสนเทศเพื่อให้เกิด ความรู้ และ ปัญญา

KM ปีการศึกษา 2558 (ปีการงบประมาณ 2559)
  • แผนการจัดการความรู้
    • แผน KM เรื่อง Active Learning
    • แผน KM เรื่อง Active Learning
  • สรุปโครงการ
    • สรุปโครงการ KM เรื่อง Active Learning
    • สรุปโครงการ KM เรื่อง การจดสิทธิบัตร อนุสิทธิบัตร
  • สรุปองค์ความรู้
    • สรุปองค์ความรู้ เรื่อง Active Learnin
      1. ความรู้เรื่องการเรียนการสอนแบบ Active Learning
    • สรุปองค์ความรู้ เรื่อง การจดสิทธิบัตร อนุสิทธิบัตร
      1. ความรู้เรื่องการจดสิทธิบัตร อนุสิทธิบัตร
      2. ขั้นตอนการยื่นขอจดสิทธิบัตร อนุสิทธิบัตร
      3. เอกสารและหลักฐานการยื่นขอจดสิทธิบัตร อนุสิทธิบัตร
      4. ผลงานการขอยื่นจดสิทธิบัตร อนุสิทธิบัตร
KM ปีการศึกษา 2559 (ปีการงบประมาณ 2560)
  • แผนการจัดการความรู้
  • สรุปโครงการ
  • สรุปองค์ความร