Research Units

กลุ่มงานวิจัย

การพัฒนาพื้นที่เมือง-ย่าน-ชุมชน เชิงการออกแบบและวางแผนพัฒนา

  • งานวิจัยด้านการท่องเที่ยวและการอนุรักษ์ (Tourism and conservation)
  • งานวิจัยด้านวางผังและออกแบบภูมิทัศน์ (Landscape)
  • งานวิจัยด้านการพัฒนาเมืองและย่าน (Urban and district development)
  • งานวิจัยด้านการขนส่งและพื้นที่รอบสถานีขนส่ง (Transportation and Transit-oriented development)
  • งานวิจัยเพื่อพัฒนามหาวิทยาลัย (University development and planning)
  • งานวิจัยเพื่อการพัฒนาชุมชนและท้องถิ่น (Community development)

การออกแบบอาคารและสถาปัตยกรรม

  • งานวิจัยด้านงานวิชาชีพเชิงออกแบบ (Professional and practice)
  • งานวิจัยด้านการออกแบบสถาปัตยกรรม (Architectural design)
  • งานวิจัยเพื่อการพัฒนาที่อยู่อาศัย (Residential development)

การนวัตกรรมด้านเทคโนโลยีเพื่อการงานสถาปัตยกรรม

  • งานวิจัยด้านวัสดุและโครงสร้าง (Material and construction)
  • งานวิจัยด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information technology)
  • งานวิจัยด้านเทคโนโลยีอาคารและการอนุรักษ์พลังงาน (Building technology and Energy conservation)

การศึกษาด้านมนุษยศาสตร์เพื่อการออกแบบสถาปัตยกรรม

  • งานวิจัยด้านการออกแบบเพื่อคนทั้งมวล (Universal design)
  • งานวิจัยด้านพฤติกรรมศาสตร์ (Behavioral studies)

หน่วยวิจัย

Urban Futures Research Unit

ชื่อหน่วยวิจัย
Urban Futures Research Unit
หลักการ
ประชากรภายในเมืองมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ ‘เมือง’ นั้นๆ จะต้องรองรับการเปลี่ยนแปลงในมิติต่างๆ ทั้งทางตรงและทางอ้อม โดยจะทำให้เมืองมีความเสี่ยงหลากหลายด้าน หากเมืองและสังคมเมืองไม่สามารถเรียนรู้ เข้าใจ และสร้างแนว ทางการรับมือกับความเสี่ยงได้ Urban Futures Research Unit ก่อตั้งโดยทีมวิจัยผู้มีความสนใจในงานด้าน Climate Change และการวางแผนพัฒนาเมือง (Urban Development Planning) ที่ส่งผลต่อสังคมเมือง ในปี 2015 และยังมีงานวิจัยในมิติอื่นๆ อีกมากมายภายใต้การร่วมมือกับ เครือข่ายทั้งในและต่างประเทศ เน้นงานวิจัยแบบสหสาขาวิชา (multidisciplinary) และส่งเสริมให้เกิดความสามารถในการรับมือ (capacity building) ของสังคมเมือง ให้รับมือกับความเสี่ยงและปรับตัวได้ในอนาคต
วัตถุประสงค์และนโยบาย
“Multidisciplinary research to manage change” มุ่งเน้นงานวิจัยที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นต่อสังคมเมือง และเพิ่มขีด ความสามารถแก่ผู้มีบทบาทในเมือง โดยมุ่งเน้นงานวิจัยในด้าน Urban Climate Resilience, Urban Development Planning, Institution/Policy, Community Development และ Affordable Housing
ตัวอย่างชื่อผลงาน (5-10)
  1. (2017-2018) Planning for Eco-cities and Climate-resilient Environments: building capacity for inclusive planning in the Bangkok Metropolitan Region (PEACE-BMR) (in collaboration with the International Institute for Environment and Development (IIED), UK) แหล่งทุน: Newton Institutional Link Grant
  2. (2016-2019) The Southeast Asia Neighbourhoods Network (SEANNET): An Interdisciplinary Regional Program where Local City-Making Knowledge Can Shape Urban Studies แหล่งทุน: the Henry Luce Foundation
  3. (2016) A Knowledge Assessment on Sustainable City in Thailand (โครงการการประเมินองค์ความรู้ด้านเมืองยั่งยืนในประเทศไทย) แหล่งทุน: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว)
  4. (2015-2016) The 2nd Thailand Assessment Report on Climate Change. Chapter: Resilient Settlement to Climate Change : A Case of Magacity แหล่งทุน: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว)
  5. (2014-2016) Community-based Livelihood Support for Urban Poor Project (SUP): Base Line and End Line Assessment แหล่งทุน: JSDF Grant and in collaboration with The World Bank
  6. (2014-2016) Spatial and socioeconomic risk assessment of flooding in Udonthani Nakorn Municipality and outlying municipalities and Tambon administrative organization (การประเมินความเสี่ยงของพื้นที่และระบบเศรษฐกิจสังคมของเขต เทศบาลนครอุดรธานีและเทศบาลและ อบต.โดยรอบต่อภาวะน้ำท่วม) แหล่งทุน: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว)
  7. (2011-2016) Coastal Cities at Risk (CCaR): Building Adaptive Capacity for Managing Climate Change in Coastal Megacities (Case Studies in Vancouver, Lagos, Manila and Bangkok) (โครงการวิจัยเมืองชายฝั่งทะเลที่มีความเสี่ยง : การเสริม สร้างศักยภาพการปรับตัวเพื่อการบริหารจัดการการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศในมหานครชายฝั่ง กรณีศึกษา Vancouver, Lagos, Manila และกรุงเทพฯ และปริมณฑล) แหล่งทุน: International Development Research Centre (IDRC), Canadian Institutes of Health Research (CIHR), Natural Sciences and Engineering Research Council of Canada (NSERC), Social Sciences and Humanities Research Council of Canada (SSHRC)
  8. (2014-2015) Characterizing Public and Private Adaptation to Climate Risks and Implications for Long-Term Adaptive Capacity in Asian Megacities แหล่งทุน: Asia-Pacific Network for Global Change Research
  9. (2010-2013) Incremental Housing: Thailand and Vietnam’s Experiences in collaboration with the Global Consortium for Incremental Housing, Massachusetts Institute of Technology (MIT), USA
  10. (2010-2011) Enhancing Adaptation to Climate Change by Integrating Climate Risk into Long—Term Development Plans and Disaster Management แหล่งทุน: Asia-Pacific Network for Global Change Research
Links

หน่วยวิจัยและออกแบบเพื่อคนทั้งมวล

ชื่อหน่วยวิจัยหรือหน่วยปฏิบัติการวิจัย
ภาษาไทย : หน่วยวิจัยและออกแบบเพื่อคนทั้งมวล มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ภาษาอังกฤษ : Thammasat University Universal Design Research Unit
หลักการและเหตุผลการจัดตั้ง
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์มีนโยบายที่เด่นชัดในเรื่องการเป็นมหาวิทยาลัยของประชาชน (People University) ที่ยึดมั่นในความเสมอภาค เท่าเทียมกันในการได้รับโอกาสในสังคมของทุก ๆ คน สอดคล้องกับแนวทางของการออกแบบเพื่อคนทั้งมวล (Universal Design) ที่เน้น การสรรค์สร้างสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมกับทุกคน โดยเฉพาะการสร้างโอกาสให้กับคนพิการและทุพพลภาพ ผู้สูงอายุ ให้สามารถเข้าถึง และใช้งานพื้นที่ต่าง ๆ ได้โดยสะดวก และไม่มีอุปสรรค ซึ่งสังคมปัจจุบันได้เริ่มตื่นตัวและให้ความสำคัญกับการออกแบบเพื่อคนทั้งมวล แต่การออกแบบสรรค์สร้างสภาพแวดล้อมที่เหมาะสำหรับทุกคนที่ปรากฏนั้น ส่วนใหญ่เป็นเพียงการนำองค์ความรู้ที่ได้รับจากต่างประเทศ เข้ามาใช้ โดยบางส่วนยังขาดกระบวนการ และผลงานวิจัยความเหมาะสม สอดคล้องกับบริบทและผู้ใช้งานในประเทศไทย คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง มีบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญ และมีทรัพยากรต่าง ๆ ที่เอื้ออำนวยต่อการส่งเสริมการวิจัยใน ด้านดังกล่าว จึงควรมีการจัดตั้ง หน่วยวิจัยและออกแบบเพื่อคนทั้งมวล มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (Thammasat University Universal Design Research Unit) เพื่อเป็นหน่วยงานที่สร้างสรรค์ ออกแบบ วิจัยและรวบรวมนวัตกรรมองค์ความรู้ เพื่อให้การออกแบบเพื่อคน ทั้งมวล รวมถึงการประสานความร่วมมือระหว่างหน่วยวิจัยกับหน่วยงานภาครัฐบาลและเอกชน ถ่ายทอดผลงานวิจัยสู่สาธารณะ ในรูปการบริการวิชาการอีกด้วย
วัตถุประสงค์ของการจัดตั้ง
  1. เป็นหน่วยงานเพื่อการวิจัย การออกแบบ และการบริการวิชาการแก่สังคม ในด้านการออกแบบสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมกับทุกคน
  2. พัฒนาองค์ความรู้ด้านการออกแบบเพื่อคนทั้งมวล บูรณาการการเรียนการสอนกับการวิจัย นำสู่การบริการวิชาการแก่สังคม เพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่ในการช่วยแก้ไขปัญหาด้านการออกแบบสภาพแวดล้อม ให้มีความเหมาะสมกับทุกคน
ผลงานที่ผ่านมา
  1. โครงการการศึกษาและสำรวจเส้นทางการสัญจรตามแนวคิดการออกแบบเพื่อคนทั้งมวลในพื้นที่เกาะรัตนโกสินทร์, 2558
  2. โครงการสำรวจสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการบริเวณป้ายรถเมล์ในถนนสายหลัก 20 สาย เพื่อรองรับรถประจำทางใช้เชื้อเพลิง ก๊าซธรรมชาติ (NVG) ชานต่ำ, 2558
  3. โครงการการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุร่วมกับการจัดพื้นที่สภาพแวดล้อม พื้นที่สร้างสรรค์ ในการจัดกิจกรรมและการดำเนินชีวิต ผู้สูงอายุในอาคารสูง (ชุมชนริมคลองไผ่สิงโต),2559
  4. โครงการตัวอย่างที่ดีในการปรับปรุงสภาพแวดล้อมด้วยเทคโนโลยีชุมชน สำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงหรือพิการ, 2559
  5. โครงการสถานการณ์และแนวทางการจัดเตรียมที่จอดรถสำหรับคนพิการ กรณีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต, 2559
  6. โครงการตรวจสอบแบบแปลนสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการ ปีงบประมาณ 2559
  7. นำเสนอผลงานในงานมหกรรมอารยสถาปัตย์และนวัตกรรมสุขภาพเพื่อคนทั้งมวล ครั้งที่ 1, 2559
  8. โครงการติดตามประเมินผล และขับเคลื่อนการดำเนินงานตามมติสมัชชาผู้สูงอายุระดับชาติ 2560
  9. โครงการออกแบบปรับปรุงพื้นที่สวนลุมพินี ให้คนพิการและทุกคน เข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้ ปีงบประมาณ 2560
  10. โครงการ พัฒนากรอบแนวทางการพัฒนามาตรการในระยะกลางถึงระยะยาว ประชารัฐเพื่อสังคมด้านที่อยู่อาศัยและสิ่งแวดล้อม เพื่อการอยู่อาศัย, 2560
  11. อื่น ๆ
ช่องทางการติดต่อ
เฟสบุคเพจ : https://www.facebook.com/ud.tham2558/ อีเมล์ : ud.tham2558@gmail.com โทรศัพท : 02-986-9434, 02-986-9605-6 ต่อ 5013 มือถือ : 092-603-6559 โทรสาร : 02-986-8067
ที่อยู่
ห้อง 520 อาคารคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี 12121

หน่วยวิจัยเฉพาะทางสถาปัตยกรรมเพื่อการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์และชุมชนเมือง

หน่วยวิจัยเฉพาะทางสถาปัตยกรรมเพื่อการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์และชุมชนเมือง (Architecture for Real Estate and Urban Development: ARE:RU)
หลักการและเหตุผลการจัดตั้ง
จากสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงของโลก ตามแรงขับดันของการเปลี่ยนแปลงในเรื่องเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และเทคโนโลยี ส่งผลให้การพัฒนาอสังหาริมทรัพย์และชุมชนเมืองต้องมีการปรับตัวให้ทันต่อสถานการณ์ เครื่องมือที่หลักของผู้พัฒนาโครงการในการ นำเสนอผลิตภัณฑ์ สถาปัตยกรรมที่ดีสามารถส่งเสริมการแข่งขันในตลาดธุรกิจอสังหาริมทรัพย์รูปลักษณ์ที่สวยงาม (aesthetic) สามารถสร้างแรงจูงใจในการซื้อของผู้ซื้อ ในขณะเดียวกันงานสถาปัตยกรรมยังมีส่วนช่วยให้การใช้งาน (function) ให้เป็นไปอย่างมี ประสิทธิภาพ รวมไปถึงยังตอบสนองข้อจำกัดด้านต้นทุน (cost) และราคาขาย (sale) ของโครงการเหล่านั้น และการให้ความสำคัญ ต่องานสถาปัตยกรรมที่ลดหรือไม่ส่งผลกระทบต่อสังคม (social) และสิ่งแวดล้อม (environmental) อีกด้วย นอกจากนี้ในยุคของการ เปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยีอย่างรวดเร็ว การปรับตัวของการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ให้สอดคล้องกับเทคโนโลยีต่างๆ จึงมีความสำคัญ มากยิ่งขึ้นเช่นกัน ดังนั้นเพื่อให้เกิดองค์ความรู้ที่เหมาะสม ทันสมัย และตอบสนองต่อความต้องการของทั้งภาคธุรกิจและการศึกษา จึงมีเล็งเห็นความจำ เป็นที่จะต้องดำเนินการวิจัยในศาสตร์ที่สัมพันธ์กับสถาปัตยกรรมเพื่อการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์และชุมชนเมือง อันจะก่อให้เกิดแนว ทางที่เหมาะสมในการเผยแพร่องค์ความรู้ดังกล่าวออกสู่สังคมและนำความรู้ใหม่ๆ มาใช้ในการถ่ายทอดองค์ความรู้ในหลักสูตร วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาสถาปัตยกรรมเพื่อการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ และวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขานวัตกรรมเพื่อการพัฒนา อสังหาริมทรัพย์ สืบต่อไป โดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้
  1. เพื่อศึกษาองค์ความรู้และวิทยาการสมัยใหม่ ในด้านสถาปัตยกรรมเพื่อการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์และชุมชนเมือง
  2. เพื่อศึกษากระบวนการการเปลี่ยนแปลงด้าน เศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และเทคโนโลยี ต่อรูปแบบสถาปัตยกรรมเพื่อการพัฒนา อสังหาริมทรัพย์และชุมชนเมือง
  3. เพื่อศึกษานำเสนอองค์ความรู้ใหม่ที่ได้จากการทำวิจัย ในด้านสถาปัตยกรรมเพื่อการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์และชุมชนเมือง สู่ภาค ส่วนธุรกิจและการศึกษา
  4. เพื่อเป็นศูนย์ถ่ายทอดองค์ความรู้และบ่มเพาะผู้ปฏิบัติวิชาชีพที่เกี่ยวข้องกับด้านสถาปัตยกรรมเพื่อการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์และ ชุมชนเมือง สู่ภาคส่วนธุรกิจและการศึกษา
ตัวอย่างงาน
ลำดับ ชื่อโครงการ ระยะเวลาโครงการ ผลที่ได้รับ
1 1. Corporative Research between Yokohama National University and Thammasat University, “Impact of urban rail transit on urban structure in Bangkok” ระยะเวลาโครงการ ตุลาคม 2557 ถึง เมษายน 2558 (ผ่านหน่วยงาน CIDAR) ผลที่ได้รับ - รายงานผลการศึกษา - บทความวิชาการเรื่อง “Transformation of Urban Structure after Operation of Urban Rail Transit in Bangkok, Thailand - Focusing on Office Location. Paper presented at the The 11th Conferenceof Asian City Planning (11thACP).” http://www.urban.t.u-tokyo.ac.jp/asia/acp2014-e.html
2 2. โครงการที่ปรึกษาการออกแบบศูนย์ การเรียนรู้และปรับปรุงผังภูมิทัศน์ ภายในฟาร์มรพีพัฒน์อำเภอ พนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา ระยะเวลาโครงการ กรกฎาคม 2558 ถึง กันยายน 2558 (ผ่านหน่วยงาน TU-RAC) ผลที่ได้รับ รายงานผลการศึกษาฉบับสมบูรณ์
3 3. ปัญหาค่าส่วนกลางกับการออกแบบ พื้นที่ส่วนกลาง กรณีศึกษาโครงการ บ้านจัดสรร ในเขตกรุงเทพและ ปริมณฑล” ระยะเวลาโครงการ ตุลาคม 2558 ถึง ปัจจุบัน (ทุนวิจัยมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์) ผลที่ได้รับ คาดว่าจะแล้วเสร็จภายในเดือนกันยายน 2560 โดยปัจจุบันส่วนหนึ่งของงานวิจัยได้รับการตอบ รับให้ตีพิมพ์ในวารสารมหาวิทยาลัยพายัพ ปีที่ 26 ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม – มิถุนายน 2559 เป็นที่เรียบร้อยแล้ว
4 4. โครงการวิจัยเชิงปฏิบัติการ : การจัดองค์ความรู้เรื่องการพัฒนา เมืองในบริบทของประเทศไทย” ระยะเวลาโครงการ ตุลาคม 2557 ถึง ธันวาคม 2558 (ผ่านหน่วยงาน CIDAR) ผลที่ได้รับ รายงานผลการศึกษาฉบับสมบูรณ์
5 5. โครงการวิจัยและให้คำปรึกษาเพื่อ พัฒนาพื้นที่ชุมชนเมืองและพื้นที่ สาธารณะ ศาลเจ้าปุงเฒ่ากงม่าริมน้ำ อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ ระยะเวลาโครงการ มกราคม 2559 ถึง มิถุนายน 2559 (ผ่านหน่วยงาน TU-RAC) ผลที่ได้รับ รายงานผลการศึกษาฉบับสมบูรณ์
6 6. โครงการที่ปรึกษา การศึกษาและ วิเคระห์ศักยภาพทางธุรกิจและการ ลงทุนอุทยานการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์ลำปาง ระยะเวลาโครงการ มิถุนายน 2559 ถึง สิงหาคม 2559 (ผ่านหน่วยงาน CIDAR) ผลที่ได้รับ รายงานผลการศึกษาฉบับสมบูรณ์
Web page ศูนย์
https://www.facebook.com/ARERU99/